บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3
การให้การศึกษาผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
Parent Education For Early Childhood
วันพุธที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2560

เวลา 11.30 - 14.30 น.

เนื้อหาที่เรียน

บทที่ 3 

การสื่อสารกับผู้ปกครองเด็กปฐมวัยก่อนเรียน อาจารย์ให้เล่นเกมทดสอบและส่งเสริมการสื่อสาร
-   เกมสื่อความหมาย
- เกมทายคำ
- เกมพรายกระซิบ
- เกม ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร่ อย่างไร กับใคร

ความหมายของการสื่อสาร• การสื่อสาร (Communication) คือ กระบวน การส่งข่าวสาร ข้อมูล จาก ผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ

ความสำคัญของการสื่อสาร
1.ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม
2.ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย
3.ทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น
4.ทำให้เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ
5.ช่วยในการพัฒนาอัตมโนทัศน์ เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต

รูปแบบของการสื่อสาร
รูปแบบการสื่อสารของอริสโตเติล (Aristotle’s Model of Communication)


รูปแบบการสื่อสารของลาล์สเวล (Lasswell’s Model of Communication) 


รูปแบบการสื่อสารของแชนนอนและวีเวอร์ (Shannon & Weaver’s Model of Communication) 


รูปแบบการสื่อสารของออสกูดและชแรมม์ (C.E Osgood and Willbur Schramm’s )

รูปแบบการสื่อสารของเบอร์โล (Berlo’s Model of Communication) 


องค์ประกอบของการสื่อสาร
1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
5. ความเข้าใจและการตอบสนอง

สื่อ
ใช้วิธีพูด-เขียน หรือการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น ใช้รูปภาพ รวมทั้งเทคโนโลยีต่างๆ โดยวิธีการติดต่อนั้นต้องใช้ตัวกลางต่างๆ เช่น คลื่นเสียง ตัวหนังสือ แผ่นกระดาษที่มีตัวหนังสือเขียน คลื่นวิทยุโทรทัศน์ ตัวกลางเหล่านี้เรียกว่า สื่อ โดยการสื่อสารนั้นสามารถใช้สื่อหลายๆอย่างได้พร้อมๆกัน เช่น การเรียน การสอน ต้องใช้ทั้งหนังสือ กระดาน ภาพ

สาร
• เรื่องราวที่รับรู้ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น ข้อเท็จจริง ข้อแนะนำ การล้อเลียน ความปรารถนาดี ความห่วงใย มนุษย์จะแสดงออกมาให้เป็นที่รับรู้ได้ การสื่อสารจะเกิดขึ้นตามกาลเทศะ และสภาพแวดล้อมต่างๆในสังคม

วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
1. เพื่อแจ้งให้ทราบ คือ การรับและส่งข่าวสารด้านต่างๆ การนำเสนอเรื่องราว ความรู้สึกนึกคิด ความรู้ หรือสิ่งอื่นใด ที่ต้องการให้ผู้รับสารรู้และเข้าใจข้อมูลนั้นๆ โดยมุ่งให้ความรู้และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง
2. เพื่อความบันเทิงใจ คือ การรับส่งความรู้สึกที่ดี และมุ่งรักษามิตรภาพต่อกัน เป็นการนำเสนอเรื่องราวหรือสิ่งอื่นใดที่จะทำให้ผู้รับสารเกิดความพึงพอใจ
3. เพื่อชักจูงใจ คือ การนำเสนอเรื่องราวหรือสิ่งอื่นใดเพื่อจูงใจให้เกิดความร่วมมือ สร้างกำลังใจ เพื่อให้ผู้รับสารเกิดความคิดคล้อยตาม หรือปฏิบัติตาม ที่ผู้ส่งสารต้องการ และนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไข


ประเภทของการสื่อสาร
1. จำแนกตามกระบวนการหรือการไหลของข่าวสาร  
      -การสื่อสารทางเดียว (One-Way Communication) 
      -การสื่อสารสองทาง (Two-way Communication)

2.จำแนกตามภาษาสัญลักษณ์ที่แสดงออก
     -การสื่อสารเชิงวัจนะ (Verbal Communication) 
     -การสื่อสารเชิงอวัจนะ (Non-Verbal Communication) 

3. จำแนกตามจำนวนผู้สื่อสาร
     -การสื่อสารส่วนบุคคล (Intrapersonal Communication)
     -การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication)
     -การสื่อสารมวลชน (Mass Communication) 


ธรรมชาติและพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง• เรียนรู้ได้ดีในเรื่องของการพัฒนาเด็ก 
• เรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีความสมานฉันท์ 
• มีความแปลกใหม่และมีประโยชน์ต่อเด็ก 
• เรียนรู้ได้ดีจากการฝึกปฏิบัติ 
• เรียนรู้ได้ดีในบรรยากาศที่เป็นวิชาการน้อยที่สุด 
• ควรได้รับความต่อเนื่องในการเรียนรู้ทีละขั้นตอน 
• เรียนรู้ได้ดีจากสื่อและอุปกรณ์ที่หลากหลาย

พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง1. ความพร้อม คือ สภาพความสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจที่จะเรียนรู้ 
2.ความต้องการ คือ ความต้องการให้ชีวิตดำเนินไปอย่างมีความสุข 
3.อารมณ์และการปรับตัว 
4.การจูงใจ หมายถึง การกระตุ้นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ 
5.การเสริมแรง คือ การสร้างความพึงพอใจหลังการเรียนรู้ให้แก่ผู้ปกครอง 
6.ทัศนคติและความสนใจ คือ การที่บุคคลมีการตอบสนองและแสดงความรู้สึกต่อสิ่งเร้าต่างๆ 
7.ความถนัด คือ ความสามารถของบุคคลในการทำกิจกรรมให้สำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ

7 c กับการสื่อสารที่ดี

• Credibility ความน่าเชื่อถือ : สามารถทำให้ผู้รับสารเกิดความเชื่อถือในสารนั้น ๆ 
• Content เนื้อหาสาระ : มีสาระให้เกิดความพึงพอใจ เร่งเร้าและชี้แนะให้เกิดการตัดสินใจได้ในลักษณะอย่างไรบ้าง 
• Clearly ความชัดเจน : การเลือกใช้คำหรือข้อความที่เข้าใจง่าย ๆ ข้อความไม่คลุมเครือ 
• Context ความเหมาะสมกับโอกาส : การเลือกใช้ภาษาและใช้สิ่งที่ส่งสารเหมาะสม 
 Channel ช่องทางการส่งสาร : การเลือกวิธีการส่งข่าวสารได้เหมาะสมและรวดเร็วที่สุด 
• Continuity consistency ความต่อเนื่องและแน่นอน : การสื่อสารกระทำอย่างต่อเนื่องมีความแน่นอนถูกต้อง 
• Clarity of audience ความสามารถของผู้รับสาร : การเลือกใช้วิธีการส่งสารซึ่งมั่นใจว่าผู้รับสารจะสามารถรับสารได้ง่ายและสะดวกโดยคำนึงถึงความรู้ เจตคติ อุปนิสัย ทักษะการใช้ภาษา สังคมวัฒนธรรมของผู้รับสารเป็นสำคัญ 

คำถามท้ายบท

       1.จงอธิบายความหมายและความสำคัญของการสื่อสารมาโดยสังเขป
ตอบ  การสื่อสาร  คือ กระบวน การส่งข่าวสาร ข้อมูล จาก  ผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ เป็นการติดต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ความคิด ทัศนคติ ทักษะ และประสบการณ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารให้มีความเข้าใจ ที่ตรงกันเพื่อนำไปสู่การดำรงชีวิตที่มีความสุข

       2.การสื่อสารมีความสำคัญกับผู้ปกครองอย่างไร
ตอบ  ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย
เป็นการสร้างสร้างมิตรภาพที่อบอุ่น  ทำให้เกิดภาพแห่งความพึงพอใจสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต

        3.รูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการให้ความรู้ผู้ปกครอง ควรเป็นรูปแบบใด จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ  ควรเป็นรูปแบบการสื่อสารของออสกูดและชแรมม์  เพราะนอกจากเป็นการส่งสารสารเป็นยังผู้รับแล้วผู้ยังสามารถตอบกลับได้อีกด้วยซึ่งสิ่งจะทำให้สามารถนำผลของตอบกลับมาปรับปรุงใช้ประโยชน์ได้

      4.ธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครองควรมีลักษณะอย่างไร
ตอบ 

  1. เรียนรู้ได้ดีในเรื่องของการพัฒนาเด็ก
  2. เรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีความสมานฉันท์
  3. มีความแปลกใหม่และมีประโยชน์ต่อเด็ก
  4. เรียนรู้ได้ดีจากการฝึกปฏิบัติ
  5. เรียนรู้ได้ดีในบรรยากาศที่เป็นวิชาการน้อยที่สุด
  6. ควรได้รับความต่อเนื่องในการเรียนรู้ทีละขั้นตอน
  7. เรียนรู้ได้ดีจากสื่อและอุปกรณ์ที่หลากหลาย
5.ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนพฤติกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก ประกอบด้วยปัจจัยด้านใดบ้าง
ตอบ   
  1. ความพร้อม  คือ สภาพความสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจที่จะเรียนรู้
  2. ความต้องการ คือ ความต้องการให้ชีวิตดำเนินไปอย่างมีความสุข 
  3. อารมณ์และการปรับตัว คือ  แนวโน้มที่จะปฏิบัติต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทั้งทางบวกและลบ  
  4. การจูงใจ คือ การกระตุ้นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ 
  5. การเสริมแรง คือ การสร้างความพึงพอใจหลังการเรียนรู้ให้แก่ผู้ปกครอง เช่น คำชมเชย รางวัล
  6. ทัศนคติและความสนใจ คือ การที่บุคคลมีการตอบสนองและแสดงความรู้สึกต่อสิ่งเร้าต่างๆ 
  7. ความถนัด คือ ความสามารถของบุคคลในการทำกิจกรรมให้สำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น